หนอน

มีความเป็นไปได้ว่า หนอนยักษ์ที่กินพลาสติกนั้น อาจเป็นตัวแปรในการปฏิวัติ การรีไซเคิลได้

เหล่านักวิทยาศาสตร์ ชาวออสเตรเลีย เชื่อว่าหนอนยักษ์ หรือ ซูเปอร์เวิร์ม หรือที่รู้จักกันในทางวิทยาศาสตร์ว่า โซโฟบัส โมริโอ ตัวอ่อนของด้วง หรือแมลงปีกแข็ง ดำรงชีวิตได้ ด้วยการกินโพลิสไตรีน อละย่อยพลาสติก ด้วยเอนไซม์ในลำไส้ และนี้อาจเป็นก้าวสำคัญ สำหรับใช้ในการต่อยอด และพัฒนาต่อการรีไซเคิลของโลกเลยทีเดียว

ดร.คริส รินเค หนึ่งในผู้เขียนการศึกษา กล่าว “หนอนยักษ์ซูเปอร์เวิร์ม ก็เปรียบเสมือนกับ โรงงานรีไซเคิลพลาสติก ที่มีขนาดเล็ก ที่กัดกินโพลิสไตรีน ที่ละเล็กละน้อย และกลืนลงไป กลายเป็นอาหาร ในลำไส้ ของแบคทีเรีย” ด้านทีมงานวิจัย ของมหาวิทยาลัยควีนสแลนด์ ได้ทำการทดลอง โดยแบ่งหนอนยักษ์เป็น 3 กลุ่ม ป้อนอาหารที่แตกต่างกันออกไป เป็นเวลากว่า 3 สับดาห์

และได้พบว่า กลุ่มที่กินโพลิสไตรีนตัวใหญ่ขึ้น ทีมงานพบเอนไซม์หลายชนิดในลำไส้ของหนอนยักษ์ที่มีความสามารถในการย่อยสลายโพลิสไตรีนและสไตรีน ซึ่งเป็นสารประกอบที่พบได้ทั่วไปในกล่องพลาสติกบรรจุอาหาร และอีกผลิตภัณฑ์อีกหลายอย่าง เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ และฉนวน

หนอน

แต่การวิจัยไม่น่าจะนำไปสู่ การสร้างฟาร์มหนอนขนาดใหญ่ให้เป็นโรงงานรีไซเคิล

แต่พวกเขาต้องการค้นหาว่า เอนไซม์ตัวไหนที่มีประสิทธิผลที่สุด เพื่อที่จะได้ผลิตเอนไซม์นั้นเพื่อใช้ในการรีไซเคิลจำนวนมากได้ งานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Microbial Genomics ระบุว่า จะมีการใช้เครื่องจักรตัดพลาสติกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อนที่จะใช้เอนไซม์ย่อยพลาสติกต่อ

“จากนั้นจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ ก็อาจใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปฏิกิริยานี้ในการสร้างสารประกอบที่มีมูลค่าสูงอย่างพลาสติกชีวภาพได้” ดร.รินเค กล่าว ก่อนหน้านี้ เคยมีการวิจัยแสดงให้เห็นแล้วว่า ตัวอ่อนของแมลงปีกแข็งบางชนิดสามารถบริโภคโพลิสไตรีนได้ โคลิน แจ็กสัน นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ซึ่งไม่ได้เข้าร่วมในการศึกษานี้

ระบุว่า การศึกษานี้ มีความก้าวหน้าขึ้นอีกขั้น “การศึกษานี้ทำให้เกิดความเข้าใจอย่างมากว่า แบคทีเรียในลำไส้ [ของหนอนยักษ์] ทำงานอย่างไรในระดับโมเลกุล” ศาสตราจารย์แจ็กสัน กล่าวกับสถานีโทรทัศน์เอบีซีของออสเตรเลีย “นั่นมีความสำคัญในการแปลความหมายและใช้วิธีการนี้ในการรีไซเคิล”

ในระดับระหว่างประเทศ นักวิจัยอีกหลายคนได้ประสบความสำเร็จในการใช้แบคทีเรียและเชื้อราในการย่อยพลาสติกมาแล้ว แต่มีคำถามว่า เทคนิคเหล่านี้จะสามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างประสบความสำเร็จหรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อพลาสติกใหม่ผลิตได้ในราคาที่ถูก

ขยะพลาสติก: เกิดอะไรขึ้นเมื่อไทยยกเลิกการนำเข้าขยะจากต่างประเทศ

เมื่อสองปีก่อน รัฐบาลจีนได้ออกประกาศด่วนเรื่องห้ามนำเข้าขยะจากต่างประเทศหลังจากพบว่าขยะกำลังล้นประเทศ เมื่อจีนห้ามนำเข้า บรรดาขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมหาศาลก็ย้ายเส้นทางมาสู่ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งไทย สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ การนำเข้าขยะพลาสติกของไทยในปี 2561 มีปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 8 เท่าจาก 69,500 ตันในปีก่อนที่จีนจะห้ามนำเข้าขยะ เป็นกว่า 552,912 ตัน

และยังพบการลักลอบ นำเข้าขยะอย่างผิดกฎหมายอีกจำนวนมาก การทะลักเข้ามาของขยะพลาสติก และขยะอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ ประกอบกับปัญหาขยะที่มีอยู่เดิมในประเทศ ทำให้รัฐบาลประกาศให้ปัญหาขยะเป็นวาระแห่งชาติเมื่อปี 2561 พร้อมกับกำหนดให้ประเทศไทยยกเลิกการนำเข้าขยะหรือเศษพลาสติก

และซากอิเล็กทรอนิกส์ 100% ตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย. 2563 เป็นต้นไป ก่อนวันที่ 30 ก.ย. ซึ่งเป็นเส้นตายการห้ามนำเข้าขยะจะมาถึง เริ่มมีเสียงเรียกร้องจากผู้ประกอบการรีไซเคิลที่นำเข้าขยะว่าให้ขยายเวลาออกไป โดยให้เหตุผลว่าขยะภายในประเทศนั้นมีไม่เพียงพอ และไม่ตรงตามความต้องการในการรีไซเคิล

ความเคลื่อนไหวจากฝั่งผู้ประกอบการทำให้ประชาชนและนักสิ่งแวดล้อมรณรงค์ในโลกออนไลน์โดยใช้แฮชแท็ก แบนขยะพลาสติก กดดันให้รัฐบาลเดินหน้านโยบายห้ามนำเข้าขยะพลาสติกตามกำหนดเดิม ซึ่งก็เป็นผลสำเร็จ กรมโรงงานอุตสาหกรรมยืนยันกับบีบีซีไทยว่า ขณะนี้ใบอนุญาตนำเข้าขยะได้สิ้นสุดลงแล้วทั้งหมด

ดังนั้นผู้ประกอบการที่เคยมีใบอนุญาตนำเข้าขยะจะไม่สามารถกระทำได้ เว้นแต่เป็นการนำเข้าภายใต้มาตรา 152 ของ พ.ร.บ.ศุลกากร ที่อนุญาตการนำเข้าในกรณีเฉพาะ บีบีซีไทยสำรวจปฏิกิริยาจากหลายฝ่าย ทั้งกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการคัดแยกขยะ และผู้ประกอบการรีไซเคิลว่าปรับตัวและรับมือกับการนำห้ามนำเข้าขยะนี้อย่างไร

ขอบคุณแหล่งที่มา : bbc.com

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : lotusflowerdance.com